...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการป้องกันและกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อย...ภายใต้การบริหารจัดการ...ของ...นายมนัส ชุมทอง..ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันโรคปากและเท้าเปื่อย





นายมนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี ดำเนินการเก็บตัวอย่างซีรั่มโคกิจกรรมสำรวจความชุกและตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันโรคปากและเท้าเปื่อย ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านเกาะ และ หมู่ที่ 1 ตำบลนาเรียง หมู่บ้านละ 7 ตัว 7 ราย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2552

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โรคกีบเน่า (Infectious foot rot)

โรคกีบเน่า (Infectious foot rot) เป็นโรคติดต่อสำคัญที่ทำให้โคนม แสดงอาการขาเจ็บ เนื่องจากส่วนต่างๆ ของกีบมีการอักเสบ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อฟูโซแบคทีเรียม นิโครโฟรัม (Fusobacterium necrophorum) ซึ่งโรคนี้เกิดได้ทุกฤดูแต่จะพบมากในฤดูฝน และมีสาเหตุโน้มนำมาจากการเลี้ยงโคในคอกที่ชื้นแฉะตลอดเวลาหรือคอกที่มีแอ่งโคลนมีก้อนหิน ก้อนกรวดปะปนอยู่ หรือคอกที่มี พื้นแข็งและแห้ง ซึ่งสภาพเช่นนี้จะทำให้กีบมีการบวม มีแผลตามสันกีบและซอกกีบ เชื้อแบคทีเรียจึงผ่านเข้าทางบาดแผล เกิดการอักเสบที่บริเวณกีบได้ โคที่เป็นโรคนี้จะมีน้ำสีดำๆ กลิ่นเหม็น ออกมาจากแผลปะปนในแปลงหญ้า พื้นคอก ทำให้โรคแพร่ระบาดไปยังโคตัวอื่นๆ ได้ โดยโคจะแสดงอาการเจ็บขา เดินกะเผลก สันกีบและซอกกีบบวมแดง มีแผลรูที่มีน้ำสีดำคล้ำไหลออกมากลิ่นเหม็นมาก มักพบในโคทุกอายุ แต่จะพบมากในโคที่มีอายุ แม่โคที่ กำลังให้นม น้ำนมจะลดลงกว่าปกติ สำหรับการตรวจวินิจฉัยนั้น สังเกตได้จากอาการและสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป เช่น พื้นคอก ฤดูกาลดูลักษณะของแผลที่บริเวณกีบและเพาะหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ
การรักษา ในระยะเริ่มแรกของโรคให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือซัลฟา เช่น เพนิซิลิน 10,000 ยูนิต/น้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือ อ๊อกซี่เต็ทตร้าไซคลิน 1 ซี.ซี./น้ำหนักสัตว์ 10 กิโลกรัม หรือซัลฟาไดอะซิน ขนาด 150-200 มิลลิกรัม/น้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม ก็จะได้ผลดีแต่ถ้าบริเวณพื้นกีบอ่อนนุ่มมีแผลรู ควรล้างทำความสะอาดกีบ เปิดแผลให้กว้างตัดเอาเนื้อตายออกล้างแผลให้สะอาดอีกครั้งด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แล้วใส่ยาชนิดครีมที่ผสมซัลฟาหรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ หรือจะให้สัตว์เดินผ่านบ่อน้ำตื้นๆ ที่มี 5% คอปเปอร์ซัลเฟต หรือ 3% ฟอร์มาลิน ก็ได้ แล้วนำโคไปไว้ในคอกที่พื้นแห้งและสะอาด
การควบคุมและป้องกัน แยกโคที่แสดงอาการขาเจ็บ ออกจากฝูง ทำการรักษากีบที่เน่า ทำความสะอาดพื้นคอกถ้าเป็นคอนกรีต ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อปล่อยทิ้งไว้ให้พื้นคอกแห้ง ถ้าพื้นคอกที่เป็นดินควรเก็บกวาดอุจจาระออกให้หมด อย่าปล่อยให้หมักหมมพยายามทำให้พื้นคอกเรียบ เพื่อป้องกันน้ำขังโดยเฉพาะ ในฤดูฝน และควรสังเกตสุขภาพของโคอย่างสม่ำเสมอ
หากเกษตรกรท่านใดสังเกตเห็นว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีอาการผิดปกติ หรือไม่แน่ใจว่าสัตว์เลี้ยงของท่านป่วยเป็นโรคข้างต้นหรือไม่ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้านท่าน

วิธีกำจัด“หมัดหนู” ป้องกัน “กาฬโรคปอด” (156/2552)

กรมปศุสัตว์แนะวิธีกำจัด“หมัดหนู” ป้องกัน “กาฬโรคปอด” นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้ด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศเข้มงวดตรวจสอบการนำเข้าสัตว์ฟันแทะทุกชนิด ทั้งสุนัข แมว และกระต่าย จากประเทศจีนและมองโกเลีย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้ด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศเข้มงวดตรวจสอบการนำเข้าสัตว์ฟันแทะทุกชนิด ทั้งสุนัข แมว และกระต่าย จากประเทศจีนและมองโกเลีย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทหาร-ตำรวจตระเวนชายแดน และเจ้าหน้าที่ศุลกากรให้ช่วยเฝ้าระวังการลักลอบการนำสัตว์ฟันแทะเข้าประเทศ และกำจัดเห็บ หมัดและพยาธิภายนอกของสุนัข-แมวที่นำเข้าจากต่างประเทศทุกตัว นั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประจำช่องทางนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ท่าเรือ และผู้เลี้ยงสุนัข แมว หนูสวยงาม รวมทั้งสัตว์ฟันแทะในประเทศได้รับทราบวิธีกำจัดหมัดหนู อันเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ กาฬโรค โรคเลปโตสไปโรซีสหรือ โรคฉี่หนู โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด และโรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิ ตัวกลม เป็นต้น กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการสาธิตและประชาสัมพันธ์วิธีการกำจัดหนู และหมัดหนู ดังนี้
วิธีการกำจัดหนู
1. โดยการกำจัดแหล่งอาหารหนู ซึ่งเท่ากับเป็นการกำจัดหนูไปในตัว หมั่นปัดกวาดตามพื้นผนัง เพดานและตัวอาคารให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าให้มีเศษอาหารหรือวัตถุดิบผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆตกอยู่ ซึ่งจะเป็นอาหารของหนูได้เป็นอย่างดี จัดเก็บวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อมิให้กลายเป็นแหล่งอาหารหนู
2. การใช้กับดัก เป็นวิธีที่ถูกและมีประสิทธิภาพดี กับดักที่นิยมใช้ได้แก่ กับตีและกับกรง ส่วนเหยื่อที่ใช้ล่อนั้นอาจเป็นพวกเนื้อหรือปลาหรืออาหารอะไรก็ได้ ควรจะมีการเปลี่ยนเหยื่อบ่อยๆ เพื่อป้องกันมิให้หนูเกิดความคุ้นเคยนอกจากนี้ผู้ดักควรใช้มือจับกับดักน้อยที่สุดทั้งนี้เพราะหนูจะมีจมูกไวมาก ถ้าได้กลิ่นคนมันจะไม่กินเหยื่อ การวางกับดักหนู ควรวางให้ชิดฝาผนังหรือในมุมมืด หรือหลังกองอาหาร หรือในบริเวณใดก็ตามที่คิดว่าเป็นทางผ่านของหนู การวางกับดักให้ต่ำกว่ากว่าระดับพื้นเล็กน้อยอาจทำให้สามารถดักหนูได้ดีขึ้นหรืออาจจะเอากับดักไว้ในที่ราบและไม่ลึกนักและที่ผิวหน้ามีขี้เลื่อยหรือเมล็ดพันธ์พืชวางทับอยู่ กับดักจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากหนูมีจำนวนมากให้ใช้กับดักจำนวนมากช่วย เพื่อป้องกันหนูที่จะหลุดรอดไปได้และเกิดความกลัวเข็ดกับการดักหนูวิธีนี้
3.การใช้กาว เป็นวิธีที่นิยมกันมาก การดักทำได้โดยเอาเหยื่อวางบนแผ่นโลหะหรือบนจานแบนๆ แล้วเอากาวป้ายเป็นวงกลมรอบเหยื่อ เมื่อหนูมากินจะเหยียบถูกกาวและถูกยึดเอาไว้ ไม่สามารถหนีได้ วิธีนี้เป็นการกำจัดหนูที่มีประสิทธิภาพดีมากและสามารถนำหนูไปทิ้งได้ทันทีด้วย ไม่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นของหนูตายและเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้สารเคมีเบื่อหนูด้วย ทำให้ป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีกับผลิตภัณฑ์ได้
4.การใช้สารเคมีผสมกับเหยื่อ(ยาเบื่อหนู) ผู้ใช้ต้องศึกษาวิธีการใช้ยาโดยละเอียด รวมถึงวิธีการป้องกันตนเองจากสารเคมีดังกล่าว
วิธีการกำจัดหมัดหนู
1.หมัดหนูที่อยู่อาศัยบนตัวหนู ต้องกำจัดหนูเท่านั้น
2.หมัดหนูที่ติดมายังสุนัขและแมว รวมทั้งหมัดสุนัข หมัดแมว สามารถทำได้โดยการใช้ แชมพูที่ช่วยกำจัดหมัด การใช้แป้งที่มีส่วนผสมของสาร กำจัดหมัด โรยตามตัวสุนัข และแมว การใช้ยาอาบน้ำ หรือแช่ตัว ที่มีส่วนผสมของ โรติโนน (Rotenone) หรือมาลาไธออน (Malathion) การใช้ปลอกคอ กันหมัด ซึ่งสามารถ กำจัดหมัดได้ ประมาณ 95 % การใช้ยาหยด บริเวณต้นคอ หรือ อาจเลือกใช้ยาฉีดหรือยากิน ทั้งนี้ควรปรึกษา สัตวแพทย์ อย่างใกล้ชิด
อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุดว่า เจ้าของสุนัข แมวและหนูสวยงาม รวมทั้งสัตว์ฟันแทะจะต้องดูแลกำจัดเห็บหมัดของสัตว์ รวมทั้งเก็บอาหารที่เหลือทุกครั้ง เพื่อไม่เป็นอาหารของหนู และหมั่นทำความสะอาดกรง/คอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคติดต่อจากหนู

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การดำเนินการโครงการป้องกันและกำจัดโรค ปี 2552

9 ก.ค. 52 หมู่ที่ 4 ตำบลนาเรียง
10 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 3 นาเรียง
13 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 2 นาเรียง
14 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 1 นาเรียง
15 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 5 นาเรียง
16 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 6 นาเรียง
17 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 8 นาเรียง
18 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 7 นาเรียง
20 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 1 อินคีรี
21 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 5 อินคีรี
22 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 7 อินคีรี
23 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 2 อินคีรี
24 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 6 อินคีรี
27 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 3 อินคีรี
28 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 4 อินคีรี

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

การดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย



ครั้งที่ 1
9 ธันวาคม 2551 หมูที่ 1 ตำบลอินคีรี
10 ธ.ค.51 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง
13 ธ.ค.51 หมู่ที่ 7 ตำบลอิคีรี, ม.7 นาเรียง
14 ธ.ค. 51 หมู่ที่ 5 ตำบลอินคีรี
15 ธ.ค.51 หมู่ที่ 3 ตำบลอินคีรี,หมู่ที่ 3 ตำบลนาเรียง
16 ธ.ค.51 หมู่ที่ 2 ตำบลนาเรียง, ม. 3 นาเรียง,ม.6 อินคีรี
17 ธ.ค.51 ม.2 อินคีรี,ม.6 นาเรียง
18 ธ.ค. 51ม.1นาเรียง
19 ธ.ค.51 ม. 4 นาเรียง
20ธ.ค.51 ม.8 นาเรียง
22 ธ.ค. 51 ม. 6 บ้านเกาะ
23 ธ.ค.51 ม.4 อินคีรี
24 ธ.ค.51 ม. 8 พรหมโลก,ม.1,6 ทอนหงส์
25 ธ.ค. 51 ม.2,8 ทอนหงส์
26 ธ.ค. 51 ม.3,4 ทอนหงส์
27 ธ.ค. 51 ม. 5,7,9 ทอนหงส์
ครั้งที่ 2
27 ธ.ค. 51 ม. 5 นาเรียง,ม. 1 อินคีรี
29 ธ.ค.51 ม. 3 อินคีรี,3 นาเรียง
30 ธ.ค. 51 ม.5,7 อินคีรี
2 ม.ค.52 ม. 2 นาเรียง,ม.6 อินคีรี
5 ม.ค.52 ม. 1,2 นาเรียง
6 ม.ค.52 ม.2, 6 อินคีรี
7 ม.ค. 52 ม 4 นาเรียง
8ม.ค.52 ม. 2 นาเรียง,1,6 ทอนหงส์,ม4 อินคีรี
9 ม.ค.52 ม.2 ทอนหงส์
รวมจำนวนโคที่ฉีดได้ 3,542 ตัว