...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการป้องกันและกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อย...ภายใต้การบริหารจัดการ...ของ...นายมนัส ชุมทอง..ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช...

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

การฉีดวัคซีน ครั้ง ที่ 1/2554

10 มกราคม 2554 หมู่ที่ 4 ตำบลอินคีรี
11มกราคม 2554 หมู่ที่ 3 ตำบลอินคีรี
12 มกราคม 2554 หมู่ที่ 6 ตำบลอินคีรี
13 มกราคม 2554 หมู่ที่ 1 ตำบลอินคีรี
14 มกราคม 2554 หมู่ที่ 5 ตำบลอินคีรี
17 มกราคม 2554 หมู่ที่ 7 ตำบลอินคีรี
18 มกราคม 2554 หมู่ที่ 2 ตำบลอินคีรี

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

กำหนดการฉีดวัคซีน ครั้งที่ 1/2553

6 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.7 ต.นาเรียง อำเภอพรหมคีรี
7 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.8 ต.นาเรียง อำเภอพรหมคีรี
8 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.6 ต.นาเรียง อำเภอพรหมคีรี
11 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.5 ต.นาเรียง อำเภอพรหมคีรี
12 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.2 ต.นาเรียง อำเภอพรหมคีรี
13 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.1 ต.นาเรียง อำเภอพรหมคีรี
13 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม. 4 ต.อินคีรี อำเภอพรหมคีรี
14 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.3 ต.นาเรียง อำเภอพรหมคีรี
15 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.4 ต.นาเรียง อำเภอพรหมคีรี
15 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม. 6 ต.อินคีรี อำเภอพรหมคีรี
18 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม. 1 ต.อินคีรี อำเภอพรหมคีรี
19 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม. 5 ต.อินคีรี อำเภอพรหมคีรี
20 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม. 3 ต.อินคีรี อำเภอพรหมคีรี
21 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม. 7 ต.อินคีรี อำเภอพรหมคีรี
22 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม. 2 ต.อินคีรี อำเภอพรหมคีรี
25 มกราคม 2553 ฉีด FMD ม.2 ต.นาเรียง(นัดซ้ำ)

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันโรคปากและเท้าเปื่อย





นายมนัส ชุมทอง ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี ดำเนินการเก็บตัวอย่างซีรั่มโคกิจกรรมสำรวจความชุกและตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันโรคปากและเท้าเปื่อย ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านเกาะ และ หมู่ที่ 1 ตำบลนาเรียง หมู่บ้านละ 7 ตัว 7 ราย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2552

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โรคกีบเน่า (Infectious foot rot)

โรคกีบเน่า (Infectious foot rot) เป็นโรคติดต่อสำคัญที่ทำให้โคนม แสดงอาการขาเจ็บ เนื่องจากส่วนต่างๆ ของกีบมีการอักเสบ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อฟูโซแบคทีเรียม นิโครโฟรัม (Fusobacterium necrophorum) ซึ่งโรคนี้เกิดได้ทุกฤดูแต่จะพบมากในฤดูฝน และมีสาเหตุโน้มนำมาจากการเลี้ยงโคในคอกที่ชื้นแฉะตลอดเวลาหรือคอกที่มีแอ่งโคลนมีก้อนหิน ก้อนกรวดปะปนอยู่ หรือคอกที่มี พื้นแข็งและแห้ง ซึ่งสภาพเช่นนี้จะทำให้กีบมีการบวม มีแผลตามสันกีบและซอกกีบ เชื้อแบคทีเรียจึงผ่านเข้าทางบาดแผล เกิดการอักเสบที่บริเวณกีบได้ โคที่เป็นโรคนี้จะมีน้ำสีดำๆ กลิ่นเหม็น ออกมาจากแผลปะปนในแปลงหญ้า พื้นคอก ทำให้โรคแพร่ระบาดไปยังโคตัวอื่นๆ ได้ โดยโคจะแสดงอาการเจ็บขา เดินกะเผลก สันกีบและซอกกีบบวมแดง มีแผลรูที่มีน้ำสีดำคล้ำไหลออกมากลิ่นเหม็นมาก มักพบในโคทุกอายุ แต่จะพบมากในโคที่มีอายุ แม่โคที่ กำลังให้นม น้ำนมจะลดลงกว่าปกติ สำหรับการตรวจวินิจฉัยนั้น สังเกตได้จากอาการและสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป เช่น พื้นคอก ฤดูกาลดูลักษณะของแผลที่บริเวณกีบและเพาะหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ
การรักษา ในระยะเริ่มแรกของโรคให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือซัลฟา เช่น เพนิซิลิน 10,000 ยูนิต/น้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือ อ๊อกซี่เต็ทตร้าไซคลิน 1 ซี.ซี./น้ำหนักสัตว์ 10 กิโลกรัม หรือซัลฟาไดอะซิน ขนาด 150-200 มิลลิกรัม/น้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม ก็จะได้ผลดีแต่ถ้าบริเวณพื้นกีบอ่อนนุ่มมีแผลรู ควรล้างทำความสะอาดกีบ เปิดแผลให้กว้างตัดเอาเนื้อตายออกล้างแผลให้สะอาดอีกครั้งด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แล้วใส่ยาชนิดครีมที่ผสมซัลฟาหรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ หรือจะให้สัตว์เดินผ่านบ่อน้ำตื้นๆ ที่มี 5% คอปเปอร์ซัลเฟต หรือ 3% ฟอร์มาลิน ก็ได้ แล้วนำโคไปไว้ในคอกที่พื้นแห้งและสะอาด
การควบคุมและป้องกัน แยกโคที่แสดงอาการขาเจ็บ ออกจากฝูง ทำการรักษากีบที่เน่า ทำความสะอาดพื้นคอกถ้าเป็นคอนกรีต ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อปล่อยทิ้งไว้ให้พื้นคอกแห้ง ถ้าพื้นคอกที่เป็นดินควรเก็บกวาดอุจจาระออกให้หมด อย่าปล่อยให้หมักหมมพยายามทำให้พื้นคอกเรียบ เพื่อป้องกันน้ำขังโดยเฉพาะ ในฤดูฝน และควรสังเกตสุขภาพของโคอย่างสม่ำเสมอ
หากเกษตรกรท่านใดสังเกตเห็นว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีอาการผิดปกติ หรือไม่แน่ใจว่าสัตว์เลี้ยงของท่านป่วยเป็นโรคข้างต้นหรือไม่ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้านท่าน

วิธีกำจัด“หมัดหนู” ป้องกัน “กาฬโรคปอด” (156/2552)

กรมปศุสัตว์แนะวิธีกำจัด“หมัดหนู” ป้องกัน “กาฬโรคปอด” นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้ด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศเข้มงวดตรวจสอบการนำเข้าสัตว์ฟันแทะทุกชนิด ทั้งสุนัข แมว และกระต่าย จากประเทศจีนและมองโกเลีย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้ด่านกักกันสัตว์ทั่วประเทศเข้มงวดตรวจสอบการนำเข้าสัตว์ฟันแทะทุกชนิด ทั้งสุนัข แมว และกระต่าย จากประเทศจีนและมองโกเลีย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทหาร-ตำรวจตระเวนชายแดน และเจ้าหน้าที่ศุลกากรให้ช่วยเฝ้าระวังการลักลอบการนำสัตว์ฟันแทะเข้าประเทศ และกำจัดเห็บ หมัดและพยาธิภายนอกของสุนัข-แมวที่นำเข้าจากต่างประเทศทุกตัว นั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประจำช่องทางนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ท่าเรือ และผู้เลี้ยงสุนัข แมว หนูสวยงาม รวมทั้งสัตว์ฟันแทะในประเทศได้รับทราบวิธีกำจัดหมัดหนู อันเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ กาฬโรค โรคเลปโตสไปโรซีสหรือ โรคฉี่หนู โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด และโรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิ ตัวกลม เป็นต้น กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการสาธิตและประชาสัมพันธ์วิธีการกำจัดหนู และหมัดหนู ดังนี้
วิธีการกำจัดหนู
1. โดยการกำจัดแหล่งอาหารหนู ซึ่งเท่ากับเป็นการกำจัดหนูไปในตัว หมั่นปัดกวาดตามพื้นผนัง เพดานและตัวอาคารให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าให้มีเศษอาหารหรือวัตถุดิบผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆตกอยู่ ซึ่งจะเป็นอาหารของหนูได้เป็นอย่างดี จัดเก็บวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อมิให้กลายเป็นแหล่งอาหารหนู
2. การใช้กับดัก เป็นวิธีที่ถูกและมีประสิทธิภาพดี กับดักที่นิยมใช้ได้แก่ กับตีและกับกรง ส่วนเหยื่อที่ใช้ล่อนั้นอาจเป็นพวกเนื้อหรือปลาหรืออาหารอะไรก็ได้ ควรจะมีการเปลี่ยนเหยื่อบ่อยๆ เพื่อป้องกันมิให้หนูเกิดความคุ้นเคยนอกจากนี้ผู้ดักควรใช้มือจับกับดักน้อยที่สุดทั้งนี้เพราะหนูจะมีจมูกไวมาก ถ้าได้กลิ่นคนมันจะไม่กินเหยื่อ การวางกับดักหนู ควรวางให้ชิดฝาผนังหรือในมุมมืด หรือหลังกองอาหาร หรือในบริเวณใดก็ตามที่คิดว่าเป็นทางผ่านของหนู การวางกับดักให้ต่ำกว่ากว่าระดับพื้นเล็กน้อยอาจทำให้สามารถดักหนูได้ดีขึ้นหรืออาจจะเอากับดักไว้ในที่ราบและไม่ลึกนักและที่ผิวหน้ามีขี้เลื่อยหรือเมล็ดพันธ์พืชวางทับอยู่ กับดักจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากหนูมีจำนวนมากให้ใช้กับดักจำนวนมากช่วย เพื่อป้องกันหนูที่จะหลุดรอดไปได้และเกิดความกลัวเข็ดกับการดักหนูวิธีนี้
3.การใช้กาว เป็นวิธีที่นิยมกันมาก การดักทำได้โดยเอาเหยื่อวางบนแผ่นโลหะหรือบนจานแบนๆ แล้วเอากาวป้ายเป็นวงกลมรอบเหยื่อ เมื่อหนูมากินจะเหยียบถูกกาวและถูกยึดเอาไว้ ไม่สามารถหนีได้ วิธีนี้เป็นการกำจัดหนูที่มีประสิทธิภาพดีมากและสามารถนำหนูไปทิ้งได้ทันทีด้วย ไม่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นของหนูตายและเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้สารเคมีเบื่อหนูด้วย ทำให้ป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีกับผลิตภัณฑ์ได้
4.การใช้สารเคมีผสมกับเหยื่อ(ยาเบื่อหนู) ผู้ใช้ต้องศึกษาวิธีการใช้ยาโดยละเอียด รวมถึงวิธีการป้องกันตนเองจากสารเคมีดังกล่าว
วิธีการกำจัดหมัดหนู
1.หมัดหนูที่อยู่อาศัยบนตัวหนู ต้องกำจัดหนูเท่านั้น
2.หมัดหนูที่ติดมายังสุนัขและแมว รวมทั้งหมัดสุนัข หมัดแมว สามารถทำได้โดยการใช้ แชมพูที่ช่วยกำจัดหมัด การใช้แป้งที่มีส่วนผสมของสาร กำจัดหมัด โรยตามตัวสุนัข และแมว การใช้ยาอาบน้ำ หรือแช่ตัว ที่มีส่วนผสมของ โรติโนน (Rotenone) หรือมาลาไธออน (Malathion) การใช้ปลอกคอ กันหมัด ซึ่งสามารถ กำจัดหมัดได้ ประมาณ 95 % การใช้ยาหยด บริเวณต้นคอ หรือ อาจเลือกใช้ยาฉีดหรือยากิน ทั้งนี้ควรปรึกษา สัตวแพทย์ อย่างใกล้ชิด
อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุดว่า เจ้าของสุนัข แมวและหนูสวยงาม รวมทั้งสัตว์ฟันแทะจะต้องดูแลกำจัดเห็บหมัดของสัตว์ รวมทั้งเก็บอาหารที่เหลือทุกครั้ง เพื่อไม่เป็นอาหารของหนู และหมั่นทำความสะอาดกรง/คอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคติดต่อจากหนู

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การดำเนินการโครงการป้องกันและกำจัดโรค ปี 2552

9 ก.ค. 52 หมู่ที่ 4 ตำบลนาเรียง
10 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 3 นาเรียง
13 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 2 นาเรียง
14 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 1 นาเรียง
15 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 5 นาเรียง
16 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 6 นาเรียง
17 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 8 นาเรียง
18 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 7 นาเรียง
20 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 1 อินคีรี
21 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 5 อินคีรี
22 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 7 อินคีรี
23 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 2 อินคีรี
24 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 6 อินคีรี
27 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 3 อินคีรี
28 กรกฎาคม 2552 หมู่ที่ 4 อินคีรี

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

การดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย



ครั้งที่ 1
9 ธันวาคม 2551 หมูที่ 1 ตำบลอินคีรี
10 ธ.ค.51 หมู่ที่ 5 ตำบลนาเรียง
13 ธ.ค.51 หมู่ที่ 7 ตำบลอิคีรี, ม.7 นาเรียง
14 ธ.ค. 51 หมู่ที่ 5 ตำบลอินคีรี
15 ธ.ค.51 หมู่ที่ 3 ตำบลอินคีรี,หมู่ที่ 3 ตำบลนาเรียง
16 ธ.ค.51 หมู่ที่ 2 ตำบลนาเรียง, ม. 3 นาเรียง,ม.6 อินคีรี
17 ธ.ค.51 ม.2 อินคีรี,ม.6 นาเรียง
18 ธ.ค. 51ม.1นาเรียง
19 ธ.ค.51 ม. 4 นาเรียง
20ธ.ค.51 ม.8 นาเรียง
22 ธ.ค. 51 ม. 6 บ้านเกาะ
23 ธ.ค.51 ม.4 อินคีรี
24 ธ.ค.51 ม. 8 พรหมโลก,ม.1,6 ทอนหงส์
25 ธ.ค. 51 ม.2,8 ทอนหงส์
26 ธ.ค. 51 ม.3,4 ทอนหงส์
27 ธ.ค. 51 ม. 5,7,9 ทอนหงส์
ครั้งที่ 2
27 ธ.ค. 51 ม. 5 นาเรียง,ม. 1 อินคีรี
29 ธ.ค.51 ม. 3 อินคีรี,3 นาเรียง
30 ธ.ค. 51 ม.5,7 อินคีรี
2 ม.ค.52 ม. 2 นาเรียง,ม.6 อินคีรี
5 ม.ค.52 ม. 1,2 นาเรียง
6 ม.ค.52 ม.2, 6 อินคีรี
7 ม.ค. 52 ม 4 นาเรียง
8ม.ค.52 ม. 2 นาเรียง,1,6 ทอนหงส์,ม4 อินคีรี
9 ม.ค.52 ม.2 ทอนหงส์
รวมจำนวนโคที่ฉีดได้ 3,542 ตัว